วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
1.  แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา  ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย  3  บทความหรือมากกว่า  ใช้  Keyword  ว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"  ให้เขียนเชื่อมโยง  วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
การศึกษาในยุคใหม่นี้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น  เพราะเป็นเครื่องมือที่ให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและเร็วกว่าที่จะจดจำเอง  รูปแบบการเรียนสอนก็เปลี่ยนเป็นการเรียนรู้และแสวงหาด้วยตนเอง  จะเน้นด้านทักษะ  ความคิดและกระบวนการ  การจะใช้สื่อให้ได้ผลดีต้องขึ้นอยู่กับครูที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กให้ผสมผสานกับกระบวนการต่างๆ  ในโรงเรียน  การใช้แท็บเล็ตตั้งแต่เล็กจะรับรู้และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและสร้างโลกส่วนตัว  แต่จะทำให้ผู้คนไม่สนใจคนรอบข้าง  ไม่อยากพูดคุยกับคนที่อยู่ใกล้
แท็บเล็ตมีข้อได้เปรียบกว่าโน้ตบุ๊ค
1.             ใช้งานได้สะดวก
2.             ไม่มีแป้นพิมพ์
3.             น้ำหนักเบา
4.             กินไฟน้อยกว่า
5.             ใช้หน้าจอแบบสัมผัส
6.             มีความคล่องตัว เพราะใช้กับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป แต่ป้อนข้อมูลได้ช้าถ้าจะใช้
งานให้ดีต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ต อีกทั้งหน้าจอจะเสียหายได้ง่าย
จุดเด่น ของการใช้แท็บเล็ต พีซี
            1.สนองต่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
            2.เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย
            3.เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
            4.สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้ชัดเจน และมีความยืดหยุ่น
            5.ส่งผลสะท้อนความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนต่อผู้เรียนได้ดีและสามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ
            6.สนองต่อคุณภาพข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศ
จุดบกพร่องของการใช้แท็บเล็ต พีซี
            1.ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้ Tablet
            2.ครูผู้สอนยังขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ Tablet ในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนบางคนมีความพร้อมที่จะเรียน
            3.ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
            4.ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการบำรุงรักษา  การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งาน
            5.มีการจำกัดผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ (อินเตอร์เน็ต) ซึ่งทำให้ผู้เรียนขาดอิสระในการเรียนรู้
2.  อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย  3  บทความหรือมากกว่า  ใช้  Keyword  ว่า "สมาคมอาเซียน"  ให้เขียนวิเคราะห์  ประเทศไทย  ประเทศเพื่อนบ้าน  การเตรียมตัวเป็นครู  นักเรียน นักศึกษา  เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
 ประเทศไทยจะต้องเร่งแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น  และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม  เช่น  อัตราการเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา  และอัตราส่วนครูต่อนักเรียน  และประเทศไทยยังด้อยเรื่องภาษา  พูดได้ภาษาเดียว  ควรมีการส่งเสริมและรณรงค์ในมีการฝึกพูดภาษาที่หลากหลายโดยเฉพาะภาษาอังกฤษคนไทยยังไม่แข็งแรงนัก  น้อยคนนักที่จะพูดได้หลายภาษา  แต่ต้องดำรงไว้ซึ่งภาษาท้องถิ่นด้วย
ประเทศเพื่อนบ้าน  มุ่งทำให้แต่ละประเทศอยู่รวมกันอย่างสันติสุข  มีระบบการแก้ไขความขัดแย้ง  ระหว่างกันได้ด้วยดี  ส่วนทางด้านเศรษฐกิจก็มุ่งทำให้เกิดการรวมตัวและอำนวยความสะดวกในการติดต่อการค้าขายระหว่างกัน  ซึ่งจะส่งผลให้แต่ละประเทศมีความเจริญมั่งคั่ง  และเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในแต่ละประเทศด้วย


3.  อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ  ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู  ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ  แสดงความคิดเห็น  
บทความ  ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"  ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ด้านคือ
1.             ศรัทธา
2.             ความไว้วางใจ
3.             สร้างแรงบันดาลใจ
4.             ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล
และครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน  ควรมีพฤติกรรม  7 ประการ คือ
1.             หาหนังสือที่ติดอันตับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน
2.             อยู่กับปัจจุบัน  /  ทันสมัย
3.             หาข้อมูล  มีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก
4.             ทำให้เด็กแสดงออซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ
5.             กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
6.             เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง
7.             ท้าทายให้เด็กได้คิด

 4.  ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า  การเรียนรู้โดยใช้บล็อก  นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร  แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก  ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร  ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร  และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้  นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
ดิฉันคิดว่า  การที่อาจารย์ให้ทำงานโดยใช้วิธีการตอบในบล็อก  เป็นสิ่งดีที่สามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยในยุคนี้มาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนซึ่งดิฉันสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในการเรียนการสอนต่อไป
ในการทำงานแต่ละครั้งดิฉันตั้งใจทำเป็นอย่างมาก  อาจจะตอบไม่ตรงประเด็นที่อาจารย์ถามไปบ้างแต่ก็ตั้งใจทำทุกครั้ง  ขาดเรียนบาง  แต่ทำงานส่งตามกำหนดเกือบทุกครั้ง  ที่ตอบมาเป็นความสัตย์จริง  การให้เกรดก็แล้วแต่อาจารย์เห็นสมควร  แต่ไม่เอาเกรด  E  ค่ะ  แต่ถ้าได้เกรด  A  จะดีมากเลยค่ะ
อาจารย์เป็นบุคคลที่เก่งมีความสามารถมากค่ะ  ขอขอบคุณที่อาจารย์สอนให้ทำบล็อก  ซึ่งเป็นสิ่งที่ดิฉันไม่เคยได้เรียนมาก่อน  ในอนาคตข้างหน้าดิฉันจะได้นำไปใช้ได้เองค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม
วันแม่  12  สิงหาคม  2555
หนูรักแม่ที่สุดเลย

ครอบครัวที่แสนอบอุ่น   มีความสุขทุกครั้งที่ได้ดู

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่  9

จัดชั้นเรียนอย่างไรให้น่าสนใจ

การจัดห้องเรียนและการเรียนการสอนควรกิจกรรมหลาย ๆ ประเภท เพื่อเป็นสิ่งเร้าและกระตุ้นให้เด็กอยากเรียน  ครูนับเป็นคนที่มีส่วนสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้เด็กแต่ละคนพบความสามารถของตนเองผ่านทางกิจกรรมและปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน  นั่นก็คือการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนให้น่าเรียนได้ การจัดห้องเรียนที่มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือการจัดที่นั่งให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
การจัดและตกแต่งห้องเรียน ควรยึดหลัก 2 ประการ คือ                
1. การเร้าความสนใจในการเรียน                
2. ความมีระเบียบ               
ทั้งนี้การจัดและปรับปรุงห้องเรียนในระดับประถมศึกษา ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างครูและนักเรียน โดยยึดหลักดังนี้ คือ              
1. สร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ              
2. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน              
3. ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์              
4. ยึดถือความแตกต่างระหว่างบุคคล              
5. ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม
การจัดห้องเรียนเพื่อให้มีความยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมนั้น ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ
    
          

1. เด็กสนใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ไม่นาน              
2. ระดับความเจริญเติบโตของเด็กแตกต่างกัน              
3. แต่ละวิชามีความมุ่งหมายในการเรียนการสอนแตกต่างกัน
หลักเกณฑ์ในการจัดห้องเรียนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพควรมีลักษณะ ดังนี้
1. การจัดสภาพห้องเรียนต้องคำนึงถึงลักษณะการเรียนการสอน และวิธีการสอน โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ นอกจากนี้การจัดห้องเรียนต้องคำนึงถึงบรรยากาศที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในบางครั้งการจัดห้องเรียนควรจะได้คำนึงถึงความสะดวกและความยืดหยุ่นของการใช้งานด้วย              
2. โต๊ะ เก้าอี้ ควรเป็นแบบที่เบาไม่เทอะทะ เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย หรือปรับปรุง ลักษณะภายในห้องเรียน และการจัดวางจะต้องอยู่ในลักษณะที่เหมาะสม ไม่สร้างปัญหาในระหว่างการเรียนการสอน เช่น การบังกัน เป็นต้น              
3. เสียง จะต้องให้เกิดการได้ยินอย่างทั่วถึงและถ้าใช้เครื่องขยายเสียงจะต้องคำนึงถึงเสียงสะท้อนด้วย              
4. ไฟฟ้าและสว่าง แสงสว่างภายในห้องเรียน จะได้จากแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟจะต้องมีความสว่างพอเหมาะ ควรจะได้มีการติดตั้งหลอดไฟในตำแหน่งที่เหมาะกับการใช้งาน ตลอดจนการติดตั้งปลั๊กไฟต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อสะดวกต่อการใช้งานและความปลอดภัย              
5. การระบายอากาศในห้องเรียน จำเป็นต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี              
6. การใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษา จะต้องจัดวางในที่เหมาะสมโดยคำนึงการกำหนดลักษณะการใช้งานและประสิทธิภาพของการใช้งาน
สภาพห้องเรียนที่ดีที่จะสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้นั้น ควรจะต้องมีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านแสงสว่าง การระบายอากาศ ความสะอาด ความปลอดภัย ตลอดจนความเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน การจัดสภาพห้องเรียนที่ดีไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งถาวร แต่ควรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน ลักษณะของบทเรียน หรือกิจกรรมที่ครูนำมาใช้ประกอบบทเรียน

กิจกรรมที่  8

ครูมืออาชีพรุ่นใหม่ควรเป็นอย่างไร  เพราะเหตุใด

      หน้าที่ของครูที่แท้จริงนั้น ไม่จำเป็นต้องสอนในแต่เรื่องวิชาของตนเท่านั้น แต่ยังต้องสอนถึงการประพฤติที่ถูกต้องดีงาม เพื่อให้นักเรียนเติบโตขึ้นไปเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ คิดเป็น มีจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ รวมทั้งแสวงหาความรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดการเรียนรู้เพียงแค่เมื่อสำเร็จการศึกษาเท่านั้น
      ดังนั้น หากจะเป็นครูมืออาชีพนั้น
      1.  อยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และเอื้อต่อการเรียนรู้
      2.  ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าคิด กล้าถาม
      3.  อย่าทำให้ห้องเรียน หรือโรงเรียนเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัว กดดัน
      4.  แต่จะต้องไม่มีการปล่อยปะละเลยเรื่องกฎระเบียบต่างๆ
      5.  ครูยังคงต้องรักษามาตรฐานต่างๆ ไว้ด้วย 
      6.  นักเรียนควรที่จะถูกฝึกให้สามารถประเมินความสามารถ และผลงานของตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่ลำเอียง คือ มีความรู้จักตนเอง
      7.  ครู โรงเรียน ครอบครัว และชุมชนควรมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
      8.  เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติแล้ว การต่อยอดความคิดจะง่ายขึ้น
      9.  ครูมืออาชีพต้องมีความสามารถในการขาย คือ  สามารถชี้แนะให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการเรียนในวิชาดังกล่าวได้  หลักสำคัญในการขายคือ การชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในชีวิตประจำวันที่นักเรียนจะได้รับจากการเรียน  นอกจากนั้น ครูควรที่จะให้ความสำคัญกับหลักสูตรที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์จริง เน้นถึงวิธีการประยุกต์ความรู้
      10.  ครูต้องเตรียมนักเรียนให้มีความพร้อมก่อนเริ่มเรียน
      11.  ครูมืออาชีพต้องกล้าเสี่ยง กล้าที่จะทดลองใช้วิธีการสอน อุปกรณ์การสอนแบบใหม่ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน  ห้องเรียนแต่ละชั้น นักเรียนแต่ละคนล้วนมีความแตกต่างกัน ดังนั้น การสอนจึงไม่มีคำตอบตายตัวว่าสอนแบบใดจึงจะได้ผล
      12.  ครูต้องมีความคิดเชิงระบบ
      13.  นักเรียน และผู้ปกครองทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน
      14.  ครูต้องสอนให้นักเรียนรู้จักที่จะเรียนรู้วิธีการเรียน (Learning how to learn) และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Life long learning)  และเรียนรู้วิธีการเรียนด้วยตนเองเมื่อไม่มีครู เช่น รู้จักสังเกต ค้นคว้าด้วยตนเอง ดังคำกล่าวที่ว่า

"ให้ปลาหนูหนึ่งตัว หนูกินได้หนึ่งวัน สอนให้หนูหาปลา หนูมีปลากินได้ตลอดชีวิต"

เหตุผลที่ครูมืออาชีพรุ่นใหม่ต้องเป็นอย่างนี้  เพราะในโลกปัจจุบันนี้มีสื่อและเครื่องมือที่ทันสมัยที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน  ซึ่งแตกต่างจากในสมัยก่อน  คือ  มีแหล่งศึกษาค้นคว้าได้แค่ในตำรา  แต่สำหรับในโลกยุคใหม่มีแหล่งในศึกษาค้นคว้าได้อย่างกว้างขว้างมากมาย  พร้อมทั้งทันสมัยทันใจ  สะดวกรวดเร็ว  จึงเป็นสิ่งดึงดูดใจในคนรุ่นหลังเกิดการเรียนรู้  ซึ่งความรู้อาจไม่ได้มีแต่จากการบอกเล่าของครูหรือแต่ในตำรา  แต่ความรู้อยู่ที่ใครรู้จักศึกษาค้นคว้าและได้พบเจอเองจริงในชีวิตประจำวัน


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
1.  ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วดำเนินการดังนี้
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                เป็นแนวการสอนรูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดด้วยตนเอง  โดยที่มีครูเป็นเพียงผู้ชี้นำและใช้คำถามให้เกิดการอภิปรายกันระหว่างผู้เรียน  และเป็นการจัดการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้และความเชื่อของครูที่เกิดจากการทำความเข้าใจการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียนซึ่งจะฝึกให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์และให้เหตุผลได้  และสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จะใช้เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่ผู้เรียนหรือผู้สอนได้พบเจอ  แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันอภิปรายจนได้ข้อสรุปและช่วยกันแก้ปัญหา  และให้ผู้สอนประเมินผู้เรียนโดยการถามคำถามแล้วให้ผู้เรียนตอบพร้อมทั้งให้เหตุผลในคำตอบนั้นด้วย  ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ด้วยตัวเองมากกว่าการเรียนรู้ในรูปแบบของการเป็นผู้รับความรู้จากผู้สอนเพียงอย่างเดียว  และผู้สอนควรให้ความสนใจและเอาใจใส่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
1.             กำหนดจุดประสงค์ที่จะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนไว้อย่างชัดเจน
2.             นำขั้นตอนทั้ง  4   ขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการจัดการเรียนรู้ของชั้นเรียน  CGI  ที่
สอดคล้องกันดังนี้
2.1        ครูนำเสนอปัญหา  ควรเลือกปัญหาที่ผู้เรียนเคยพบเจอในชีวิต
2.2        ครูช่วยแนะให้ผู้เรียนมีความเข้าใจปัญหา  และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ปัญหา  ครูต้องช่วย
แนะนำจนให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและสามารถแก้ปัญหานั้นได้และต้องให้เวลาผู้เรียนเพื่อทำความเข้าใจปัญหา  ซึ่งครูต้องอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับสื่อ  เครื่องมือต่าง ๆ    หรืออุปกรณ์ที่ผู้เรียนต้องการ
2.3        นักเรียนรายงานคำตอบและวิธีการแก้ปัญหา  และเลือกถามเป็นรายบุคคลถึงวิธีการในการ
แก้ปัญหาพร้อมเหตุผล  เช่น  คุณหาคำตอบได้อย่างไร  ทำไมใช้วิธีการนั้น  เป็นต้น
2.4        ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบและวิธีการที่ใช้  ผู้เรียนทั้งชั้นช่วยกันอภิปรายถึง
คำตอบและวิธีการที่แตกต่างกัน  โดยครูเป็นผู้นำให้เกิดการอภิปรายโดยใช้คำถาม  เช่น  คำตอบสองคำตอบนี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร  ใครมีวิธีการที่แตกต่างจากนี้ไม่  เป็นต้น



ความรู้จากการบอกเล่า  ยังไม่เท่าความรู้จากประสบการณ์จริง

2. ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วดำเนินการดังนี้
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                ในหลวงทรงเป็น  ครูของแผ่นดิน  ที่มีวิธีการสอนแบบทำให้ดูก่อน  พยายามชักจูงพยายามสอน  และทรงสอนอยู่ตลอดเวลาโดยใช้เหตุการณ์หรือเหตุผลมาพูดจนเกิดความเข้าใจ 
                “จะสอนให้คนดี  ครูต้องดีก่อน  จะสอนให้เด็กทำ  ครูต้องทำเป็นอย่างนั้นก่อน”
                จะต้องเป็นครูที่เป็นต้นแบบที่ถาวรคงทน 
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จะเป็นครูที่มีวิธีการสอนแบบทำให้ดูก่อนแล้วให้ศิษย์ทำตาม  จะต้องเป็นครูที่มีความรู้ความสามารถมากพอที่จะนำความรู้ที่มีมาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ได้  ปลูกฝังให้ศิษย์เป็นคนดีของสังคมและใช้ชีวิตอย่างพอเพียงตามพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
1.             ทำให้ดูก่อน  และพยายามที่จะจูงใจให้นักเรียนมาสนใจ
2.             ลงมือทำเลย  ไม่ต้องรอเดี๋ยวค่อยทำ
3.             เป็นคนดี
4.             ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมที่  7
โทรทัศน์ครู

 เป็นการใช้เทคนิคง่ายๆ  ที่เป็นรูปธรรม  สามารถจับต้องได้  โดยใช้เหรียญที่มีด้านหนึ่งเป็นจำนวนเต็มบวกหนึ่ง  และอีกด้านเป็นจำนวนเต็มลบหนึ่ง  มาฝึกฝนทักษะในการบวกจำนวนเต็ม  2  จำนวน  จนทำให้นักเรียนลดความสับสนเกี่ยวกับการบวกจำนวนเต็มที่มีเครื่องหมายข้างหน้าต่างกัน  นักเรียนเกิดความเข้าใจ และ มีความรู้ที่ฝั่งแน่นได้เป็นอย่างดี

บรรยากาศในชั้นเรียน
ใช้สื่อที่ทันสมัยในการเรียนการสอนและมีเครื่องมือการสอนที่ชัดเจนสามารถฝึกฝนทำเองได้  ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งนั้นเองได้

คุณครูโฉมนภา วัชรัมพร คุณครูคณิตศาสตร์แห่งโรงเรียนสายปัญญารังสิต จังหวัด ปทุมธานี
กิจกรรมที่ 6 เพื่อนกันตลอดไป