วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

มาสโลว์ เป็นเจ้าของทฤษฏีแรงจูงใจ        
                มาสโลว์เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษย์นิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
                 1.ความต้องการทางกายภาพ 2.ความต้องการความปลอดภัย
                 3. ความต้องการทางสังคม
                 4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง
                 5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต


Douglas Mc Gregor  เป็นเจ้าของทฤษฎี X และทฤษฎี Y         ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม
              ทฤษฎี X มองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
              ทฤษฎี Y มองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงาน


William Ouchi  เป็นเจ้าของทฤษฎี Z      
              วิลเลี่ยม โอชิ มองเห็นข้อดีและข้อเสียของ 2 ทฤษฎีตัวอย่าง แล้วนำข้อดีข้อเสียนั้นมาวิเคราะห์สร้างเป็นทฤษฎีร่วมสมัย ที่เรียกว่า Blend Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย
                1.ใช้วิธีแบบ การจ้างงานระยะยาวขึ้น
                2.จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล
                3.การตัดสินใจที่ต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ


Henry Fayol เป็นบิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่          เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ


Max Weber เป็นเจ้าของทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ          แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม มี 6 ประการ คือ
                 1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
                 2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
                 3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ
                 4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์
                 5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
                 6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ


Luther Gulick เป็นเจ้าของทฤษฏี POSDCORB            Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORB(CO คือคำเดียวกัน) แนวความคิดที่นำเอามุมมองทั้ง 7 ด้านมาใช้นั้นสอดคล้องกับทฤษฎีการบริหารจัดการของ Henri Fayol , Frederick W.Taylor และ Max Weber
Frederick Herzberg เป็นเจ้าของ ทฤษฎี 2 ปัจจัย         เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
                 ปัจจัยภายนอก
                 ปัจจัยภายใน
         ปัจจัยภายนอกนั้นจะเป็นแรงจูงใจที่สนองตอบต่อความต้องการภายนอกของคน ส่วนปัจจัยภายในจะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญต่อคนมากกว่าปัจจัยภายนอก


Frederick W. Taylor เป็นเจ้าของ ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์          เทย์เลอร์ เป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
                  1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
                  2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
                 3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
                 4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
        เทย์เลอร์ได้พัฒนาวิธีการจ่ายค่าจ้างต่อหน่วยแบบสองระดับ


Henry L. Gantt : ผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ         เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านที่นำเอากราฟ "Gantt Chart" มาเป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น


Frank B. & Lillian M. Gilbreths : Time – and – Motion Studies        แนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น